กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8562
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปในเขตจังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Buying behavior of the consumers on processed pork products in the zone of Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ผาณิต พุกภูษา, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--ราชบุรี
เนื้อสุกร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปในเขตจังหวัดราชบุรี (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปในเขต จังหวัดราชบุรี (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปในเขตจังหวัดราชบุรี กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดประชากรที่ใช้ศึกษาคือ ผู้บริโภคในเขตจังหวัดราชบุรี ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้หลักการของ Krejcie & Morgan (1970) ได้จำนวน 310 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยการหาค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปที่ตลาดสด ความถี่ในการซื้อ 4 – 6 ครั้งต่อเดือน เหตุผลในซื้อคือหาซื้อได้ง่ายตนเองเป็นผู้ดัดสินใจซื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับประทานเอง สินค้าที่ซื้อเป็นประจำคือเนื้อหมูหมักเนื้อหมูสไลด์ (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่ายมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมาก ขณะเดียวกัน ด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลน้อยที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในด้านอายุมีความสัมพันธ์กับปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาและการส่งเสริมการตลาด และด้านร้ายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับ การส่งเสริมการตลาด (4) พฤติกรรมการซื้อในส่วนของเหตุผลในการซื้อบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและวัตถุประสงค์ในการซื้อ มีความสัมพันธ์กับช่องทางการจัดจำหน่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8562
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_160377.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons