กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8572
ชื่อเรื่อง: การรับรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกลยุทธ์เชิงบริการของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perception of AEC and services strategies of restaurant entrepreneur in Muang District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจริญชัย ทวีอภิรดีเสนา, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ร้านอาหาร--ไทย--เชียงใหม่
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาระดับความสำคัญของการใช้ กลยุทธ์เชิงบริการของผู้ประกอบการร้านอาหารในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และ(3)เปรียบเทียบกลยุทธ์เชิงบริการของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามลักษณะผู้ประกอบการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กและแผงลอย ที่ ได้รับป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2556 เป็นร้านอาหารที่อยู่ใน เขตอำเภอเมือง ได้แก่ อำเภอเมือง (เทศบาลนคร) และอำเภอเมือง (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ) จำนวน ทั้งสิ้น 1,517 ร้าน ขนาดกลุ่มตัวอย่างกำหนดที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งคำนวณจากสูตรความคลาดเคลื่อนมาตรฐานได้ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กจำนวน 276 ร้าน และผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอย จำนวน 41 ร้าน รวมทั้งสิ้น 317 ร้าน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิง อนุมานได้แก่ การทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) การรับรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในแต่ละด้านของ ผู้ประกอบการร้านอาหาร พบว่า มีการรับรู้ทางด้านนโยบายภาครัฐ ร้อยละ 64.20 ด้านวัฒนธรรม ร้อยละ 60.47 ด้านการเรียนรู้ร้อยละ 51.00 และด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 33.28 (2)ระดับความสำคัญของการใช้ กลยุทธ์เชิงบริการของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านกระบวนการทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัด จำหน่าย ด้านพนักงาน และด้านกระบวนการทำงาน ตามลำดับ และ (3) การเปรียบเทียบกลยุทธ์เชิงบริการ ของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในอำเภอเมือง ชังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ลักษณะผู้ประกอบการที่แตกต่าง กันใช้กลยุทธ์เชิงบริการด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการขาย ด้านพนักงาน ด้านกระบวนการทำงาน และด้านกระบวนการทางกายภาพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8572
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140165.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons