กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8589
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the project to develop ability to conduct science projects of learners in colleges under the Office of Chumphon Vocational Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพชรผ่อง มยูขโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนิดา เกื้อกูล, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
โครงงานวิทยาศาสตร์ -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (2) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และ (3) ประเมินผลผลิตและผลกระทบของโครงการพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย (1) นักเรียน นักศึกษา จำนวน 500 คน (2) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คนและครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 14 คน (3) ผู้บริหารและครูผู้สอนฯ ที่ร่วมกิจกรรมการประกวดระดับสถานศึกษา จำนวน 11 คน ระดับจังหวัดจำนวน 3 คน และ (4) ครูที่ไม่ใช่ครูวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่และนักเรียน นักศึกษา ที่ร่วมกิจกรรมการประกวดระดับสถานศึกษาจำนวน 178 คน และระดับจังหวัดจำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร สถานที่ เอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ยกเว้นงบประมาณในกิจกรรมการเรียนการสอนมีความพอเพียงอยู่ในระดับปานกลางไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ ประกอบด้วย การประชาสัมพันธ์ การวางแผน การดำเนินการตามโครงการและการประเมินผลการดำเนินงาน โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ยกเว้นการวางแผนการดำเนินกิจกรรมการประกวด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (3) ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า จำนวนนักเรียน นักศึกษาที่มีคะแนนการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คะแนนความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคะแนนเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ผลกระทบที่เกิดกับสถานศึกษา และนักเรียน นักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8589
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134835.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons