กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8614
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using a guidance activities package to develop systematic thinking of Prathom Suksa VI Students of Wat Ratniyomtham (Phibul Songkhram) School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วลัยพร ประสานพันธ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความคิดและการคิด--กิจกรรมการเรียนการสอน
ความคิดและการคิด--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
นักเรียนประถมศึกษา--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงระบบของนักเรียนกลุ่ม ทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว และ 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงระบบของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบและของกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัดก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มและสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบการคิดเชิงระบบที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และ 2) ชุดกิจกรรม แนะแนวเพื่อ พัฒนาการคิด!ชิงระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิด!ชิงระบบ มีความคิดเชิงระบบสูงกว่า ก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และ 2) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ นักเรียนกลุ่มทดลอง มีความคิดเชิงระบบสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8614
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_154731.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons