กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8620
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problem of national reserved forests encroachment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ครรชิต โล่ห์คำ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ป่าสงวน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.--ไทย
การบุกรุก--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษทาง อาญา, ยุติธรรมทางเลือกและแนวนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการคุ้มครองป่าและป้องกันการบุกรุกป่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษทางอาญาและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่า สงวนแห่งชาติ ความเป็นมาและมาตรการทางกฎหมายต่อผู้บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติพร้อมคำพิพากษา ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ศึกษาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษา ค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าวิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวม ข้อมูลทั้งหลายมาทำการศึกษา วิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า ภาครัฐมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวทางตามหลักนิติศาสตร์คือการแก้ไขกฎหมายให้มีบทลงโทษที่สูงขึ้นและแนวทางตามหลักรัฐศาสตร์คือการใช้นโยบายของรัฐต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาราษฎรที่บุกรุก พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อย่างไรก็ดีปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง จำนวนคดีเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติไม่มีแนวโน้มลดลง ดังนั้นการลงโทษผู้บุกรุกโดยบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันหรือป้องปรามให้ผู้บุกรุกเกิดความหวาดกลัวต่อบทลงโทษที่จะได้รับ หรือแนวนโยบายของรัฐที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติได้อย่างเบ็ดเสร็จ ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยใช้แนวทางการลงโทษเชิงสมานฉันท์ต่อผู้บุกรุกที่เป็นผู้ยากไร้และการลงโทษอย่างรุนแรง เฉียบ ขาดต่อผู้บุกรุกที่เป็นนายทุน โดยมีแนวทางของรัฐที่เหมาะสมเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ได้อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามสมควรและภาครัฐได้ รักษา ฟื้นฟู พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอย่างยั่งยืน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8620
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_161861.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons