กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8638
ชื่อเรื่อง: การประเมินอิทธิพลของโอกาสทางการศึกษาของครอบครัวต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of the influence of family educational opportunity on learning achievement, emotional intelligence, achievement motivation, and learning habits of Prathom Suksa VI students in Nakhon Luang District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาพร แสงจันทร์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การจูงใจในการศึกษา
ความฉลาดทางอารมณ์
การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของโอกาสทางการศึกษาของครอบครัวต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อาเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอาเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จานวน 413 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มศรีทักษิณ จานวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 เป็นแบบบันทึกผลคะแนนการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษาของครอบครัว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และนิสัยในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์อิทธิพลของโอกาสทางการศึกษาใช้การวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ตัวแปรโอกาสทางการศึกษาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ เพศ มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยพบว่าเพศชายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่าเพศหญิง นักเรียนที่มีบิดาจบมัธยมศึกษาตอนต้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ากว่านักเรียนที่มีบิดาจบประถมศึกษา และครอบครัวที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท (2) ตัวแปรโอกาสทางการศึกษาที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่ นักเรียนที่เป็นลูกคนเดียวจะมีความฉลาดทางอารมณ์น้อยกว่าลูกที่มีพี่น้องหลายคน นักเรียนที่มีบิดาจบ ปวช. หรือ ปวส. มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักเรียนที่มีบิดาจบประถมศึกษา และนักเรียนที่มีมารดาจบมัธยมศึกษาตอนต้นมีความฉลาดทางอารมณ์น้อยกว่านักเรียนที่มีมารดาจบประถมศึกษา (3) ตัวแปรโอกาสทางการศึกษาที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ได้แก่ นักเรียนที่มีมารดาจบมัธยมศึกษาตอนปลายมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนที่มีมารดาจบประถมศึกษา (4) ตัวแปรโอกาสทางการศึกษาที่มีผลต่อนิสัยในการเรียน ได้แก่ เพศชายมีนิสัยในการเรียนน้อยกว่าเพศหญิง และนักเรียนที่มีมารดาประกอบอาชีพค้าขาย/ประกอบอาชีพส่วนตัวจะมีนิสัยในการเรียนน้อยกว่านักเรียนที่มีมารดาประกอบอาชีพลูกจ้าง รับจ้างและเกษตรกร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8638
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137440.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons