กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8642
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a Thai language instructional system using electronic media as the main media for Prathom Suksa VI students under the Office of Lopburi Primary Education Service Area 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วาสนา ทวีกุลทรัพย์ กุลธิดา คำพานิชย์, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศันสนีย์ สังสรรค์อนัต์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ภาษาไทย--การสอนด้วยสื่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยอิงสื่อ อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ประชากร ได้แก่ (1) ผู้บริหาร จำนวน 183 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 202 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3,500 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 6 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จำนวน 2 คน รวมจำนวน 8 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 353 คน ได้มาโดยการสุ่ม ตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการระบบการเรียน การสอนวิชาภาษาไทยโดยอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลักของผู้บริหาร ครู และนักเรียน แบบระดม ความเห็นในการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพระบบการเรียนการสอนสาหรับผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา จากผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยอิงสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อ หลักที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สำรวจปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการเรียน การสอนวิชาภาษาไทย ขั้นที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ขั้นที่ 3 ผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์และ สื่อเสริม ขั้นที่ 4 จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน ขั้นที่ 5 ถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ และขั้นที่ 6 ประเมินผลการเรียนการสอน และระบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยดังกล่าวได้รับการประเมิน และรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีคุณภาพในระดับดีและสามารถนาระบบไปใช้ได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8642 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
137457.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License