กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8646
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ ที่มีต่อวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกาะสมุุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ‫Effects of using a computer assisted instruction program in career guidance on career maturity of Mathayom Suksa III students of Koh Samui School in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเวศ บุญราศรี, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การแนะแนวอาชีพ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ ที่มีต่อวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ ที่มีต่อวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ การดำเนินการวิจัยโดย 1) การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมาจากการวัดคะแนนวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 233 คน แล้วคัดเลือกนักเรียนจากห้องที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน จำนวน 2 ห้อง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ห้องละ 30 คน 2) การสร้างเครื่องมือ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ และแบบวัดวุฒิภาวะด้านอาชีพ 3) การทดลองและการเก็บข้อมูลด้วยการให้นักเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้ร่วมกิจกรรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่ากลุ่มละ 12 คาบ 4) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ มีคะแนนวุฒิภาวะด้านอาชีพหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน 2) ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพ พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีระดับคะแนนวุฒิภาวะด้านอาชีพสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติ 3) นักเรียนให้ระดับความคิดเห็นแต่ละประเด็นอยู่ที่ระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนครูและผู้เชี่ยวชาญให้ระดับความคิดเห็นแต่ละประเด็น อยู่ที่ระดับปานกลางถึงมากที่สุด โดยประเด็นที่ได้คะแนนระดับปานกลาง หนึ่งข้อ คือ ความชัดเจนของเสียงบรรยาย และมีความเห็นตรงกันทั้ง 3 กลุ่มว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแนะแนวอาชีพนี้สามารถ ใช้เป็นบทเรียนการแนะแนวอาชีพได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8646
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137465.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons