Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8651
Title: มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาก่อนฟ้องในคดีเด็กและเยาวชน
Other Titles: Pre-prosecuting special measure in lieu of criminal proceedings in children and juvenile cases
Authors: วรรณวิภา เมืองถํ้า
คำไพร เหลาแสน, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย กระบวนการและขั้นตอน หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการการใช้มาตรการพิเศษแทนคดีอาญาก่อนฟ้องในคดีเด็กและเยาวชน โดยทําการศึกษาค้นคว้า เพื่อนํามาวิเคราะห์และเปรียบเทียบให้เห็นประเด็นปัญหา และหาข้อสรุปหรือแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนกระบวนการหรือวิธีการดําเนินการในกระบวนการยุติธรรมสําหรับเด็กและเยาวชนของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยทางเอกสารเป็นหลัก จากตัวบทกฎหมาย หนังสือตํารากฎหมาย วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย เอกสารประกอบการเรียน การสอน บทความทางวิชาการ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเอกสารออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าการนํามาตรการพิเศษแทนการดําเนินคดีอาญามาใช้ก่อนฟ้อง ในคดีเด็กและเยาวชนยังมีประเด็นปัญหาในเรื่องการไม่ได้กําหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ดําเนินคดีเป็นผู้นํามาตรการพิเศษแทนการดําเนินคดีอาญามาใช้เป็นลําดับแรก ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ การนํามาตรการพิเศษแทนการดําเนินคดีอาญาที่ต้องการเบี่ยงเบนคดีเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติให้เร็วที่สุด ตลอดจนเรื่องการไม่ได้กำหนดประเภทคดีให้ชัดเจนว่าคดีประเภทใดบ้างที่สามารถใช้วิธีการแก้ไขฟื้นฟูโดยการว่ากล่าวตักเตือนได้ ข้อเสนอแนะ เห็นควรกำหนดให้หน่วยงานเริ่มต้นคดีเป็นผู้เริ่มนํามาตรการพิเศษแทนการดําเนินคดีอาญามาใช้เป็น หน่วยงานแรกภายใต้เงื่อนไขการกําหนดประเภทคดีเอาไว้ให้ชัดเจนเพื่อใช้วิธีการแก้ไขฟื้นฟู โดยการว่ากล่าวตักเตือน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติกับหลักสากลและเหมาะสมกับโครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมและบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้กระทําความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน ผู้ได้รับความเสียหาย และชุมชน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงาน ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8651
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_158878.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons