กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8655
ชื่อเรื่อง: | การประเมินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of the recycled Garbage Bank Project in schools under the Office of Khon Kaen Primary Education Service Area 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมคิด พรมจุ้ย ประทุม จำปานุ้ย, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นลินี ณ นคร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน--การประเมิน ขยะ--การนำกลับมาใช้ใหม่ ขยะ--การจัดการ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น (2) ประเมินความเหมะสมของกระบวนการดำเนินงาน และ (3) ประเมินผลผลิตของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 33 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 33 คน นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ จำนวน 165 คน นักเรียนที่เป็นสมาชิก จำนวน 165 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ จำนวน 165 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร งบประมาณ สื่ออุปกรณ์และเทคโนโลยี พบว่า ด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยี มีความพร้อมผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านบุคลากรไม่พร้อมเนื่องจากบุคลากรมีไม่เพียงพอเพราะมีภาระงานประจำและงานอื่นมาก (2) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการประกอบด้วย การรับสมัครคณะทำงาน การประชุมคณะทำงาน การประชาสัมพันธ์ การให้บริการของธนาคารขยะ และการประเมินกิจกรรม โดยภาพรวม พบว่า การปฏิบัติมีความเหมาะสมระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน และ (3) ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมที่สะท้อนถึงจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสามารถนำขยะกลับมาใช้ใหม่ จำนวนปริมาณขยะลดลง ผลตอบแทนจากธนาคารขยะรีไซเคิลสามารถนำไปจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษาและกิจกรรมอาหารกลางวันของโรงเรียน โรงเรียนสะอาดปลอดขยะ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น นักเรียนทิ้งขยะเป็นที่ คัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง สร้างนิสัยการออมเงินและรู้จักทำบัญชีค่าใช้จ่าย นักเรียนมีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิล การดำเนินโครงการสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชน นักเรียนที่เป็นกรรมการและผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลอยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8655 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
137713.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License