กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8670
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Department of agriculture extension official's opinion toward job performance satisfaction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ ชลาลัย มัณฑปาน, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | กรมส่งเสริมการเกษตร--ความพอใจในการปฏิบัติงาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ ความพอใจในการทำงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการกรม ส่งเสริมการเกษตรต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตรต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมส่งเสริม การเกษตร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ กรมส่งเสริมการเกษตร ในสังกัดส่วนกลางที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่าง นัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษา พบว่า (1) ความคิดเห็นของข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตรต่อความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานในด้านปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในด้านความสำเร็จในงานสูงสุด รองลงมา คือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรู้สึกได้รับการยอมรับ ความรับผิดชอบต่องาน และโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ตามลำดับ และในด้านปัจจัยคํ้าจุนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจในด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชาสูงสุด รองลงมาคือ ระดับ และคุณภาพของการบังคับบัญชา การประเมินผลการปฏิบัติงาน นโยบายและการบริหารงานของ หน่วยงาน และสภาพการทำงานตามลำดับ (2)คุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในด้านเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน รายได้ ตำแหน่งงาน และหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงาน ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ และควรปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้มีความเพียงพอต่อการใช้งาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8670 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
129187.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License