กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8681
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาบริษัท บลูแอนด์ไวท์ โลจิสติกส์ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development to learning organization a case study of Blue & White Logistics Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ
ชาญชัย นุ่มใส, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: บริษัท บลูแอนด์ไวท์ โลจิสติกส์--การจัดการ
การเรียนรู้องค์การ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นของบุคลากร บริษัท บลูแอนด์ไวท์ โลจิสติกส์ จำกัด ในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ (2) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ ต่อปัจจัยการเรียนรู้ในองค์การ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นบุคลากรของบริษัท บลูแอนด์ไวท์ โลจิสติกส์ จำกัด ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ รวมจำนวน 100 คน กำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิง อนุมานได้แก่ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย (1) พบว่า ระดับความคิดเห็นของบุคลากรของบริษัท บลูแอนด์ไวท์ โลจิสติกส์ จำกัด ในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การสู่ องค์การแห่งการเรียนรู้เรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่ ด้านการประยุกต์เทคโนโลยี ข้อที่มีระดับความ คิดเห็นมากที่สุดคือ ระบบอิเลคทรอนิกส์ขององค์การ ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน และช่วยบุคลากร เรียนรู้และทำงานได้ดีขึ้น ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ ข้อที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดคือ การปฏิบัติงานร่วมกันกับฝ่ายต่างๆ และการทำงานเป็นทีมเป็นโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล ช้อที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุดคือ การทำงานร่วมกันของระดับหัวหน้า และ บุคลากรมีลักษณะที่จะเรียนรู้และแก้ปัญหาไปด้วยกัน ด้านการจัดการความรู้ ข้อที่มีระดับความคิดเห็น มากที่สุดคือ องค์การพัฒนาวิธีการใหม่ๆ เช่น อินเตอร์เน็ตหรืออีเมล์เพื่อการแลกเปลี่ยน การเรียนรู้ของหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง ด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ ข้อที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การเป็นที่รับรู้ และใช้เป็นแนวทาง เชื่อมโยงสู่แผนปฏิบัติการอย่างชัดเจน (2) ลักษณะส่วนบุคคลจำแนกตามอายุการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสู่องค์การแห่งการ เรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับลักษณะส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา แผนก และตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8681
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133775.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons