Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8682
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา วัธนสุนทร | th_TH |
dc.contributor.author | เดือนดารา อุทัย, 2504- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-08-09T07:49:08Z | - |
dc.date.available | 2023-08-09T07:49:08Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8682 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินกระบวนการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 25 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 25 คน ครู 114 คน กรรมการสถานศึกษา 52 คน ผู้ปกครอง 164 คน นักเรียน 213 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ซึ่งมีทั้งหมด 127 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารและครู เห็นว่าโรงเรียนมีการปฏิบัติโดยเฉลี่ย ในระดับดี-ดีมาก ในการประกันคุณภาพด้านผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ทั้งในด้าน การเตรียมการ การดำเนินการ และการรายงานผลการปฏิบัติงาน เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่ามีการปฏิบัติในระดับปานกลางหรือพอใช้ ในการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียน และการแปลความหมายข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ และในความคิดเห็นเฉพาะของครู เห็นว่ามีการสารวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบุคลากรของสถานศึกษา ในระดับปานกลางหรือพอใช้ (2) กรรมการสถานศึกษาเห็นว่ามีส่วนร่วมและรับทราบเกี่ยวกับการประกันคุณภาพด้านผู้เรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี-ดีมาก ยกเว้นด้านการเตรียมการ ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้-ดี ในรายละเอียด พบว่าการมีส่วนร่วมในการจัดหางบประมาณ การได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการในการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลางหรือพอใช้ (3) ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและรับทราบด้านการดำเนินการอยู่ในระดับดี-ดีมาก ส่วนด้านการเตรียมการอยู่ในระดับต้องปรับปรุงเร่งด่วนหมดทุกรายการของด้านนี้ สำหรับด้านการรายงานผล อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี (4) นักเรียนมีส่วนร่วมและรับทราบด้านรายงานผลอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการเตรียมการและด้านการดำเนินการอยู่ในระดับพอใช้-ต้องปรับปรุงเร่งด่วน เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่าการยอมรับเป้าหมายด้านผู้เรียนของสถานศึกษาอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในรายละเอียด ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพด้านผู้เรียนประสบผลสำเร็จมากขึ้น โดยสถานศึกษาต้องยกระดับการมีส่วนร่วมของ กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับสูงสุดทุกด้าน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.16 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ประกันคุณภาพการศึกษา--ไทย--นครปฐม | th_TH |
dc.subject | เขตพื้นที่การศึกษา--ไทย--นครปฐม | th_TH |
dc.title | การประเมินการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 | th_TH |
dc.title.alternative | Evaluation of internal quality assurance in the student aspect of schools under Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to evaluate the process of quality assurance in the student aspect of schools under Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1. The sample of this study comprised school personnel and people involved with 25 schools under Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1, classified into 25 school administrators, 114 teachers, 52 school board members, 164 parents and 213 students, obtained by stratified random sampling from the total of 127 primary schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1. The data was collected using questionnaires constructed for each group of sample by the researcher, and was analyzed with the use of content analysis, frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings were as follows: (1) The school administrators and teachers perceived that the schools performed on the average at the good to excellent levels in the process of quality assurance in all three dimensions of the student aspect, namely, the preparation, the operation, and the performance outcome reporting. When the details of the process were considered, it was found that the performances were at the moderate or fair level in the procurement of budgets for the operation of the student aspect of internal quality assurance, and the correct and complete interpretation of data; whereas the teachers specifically perceived that the survey of basic information of the school personnel was carried out at the moderate or fair level. (2) the school board members perceived that on the average, their participation and being informed concerning the student aspect of internal quality assurance were at the good to excellent levels, excepting their participation in the preparation dimension, which was perceived as being at the fair to good levels. In details, it was found that their participations in budget procurement, in being appointed as committee members, and in assigning duty and responsibility of committee members in internal quality assurance were at the moderate or fair level. (3) The parents perceived that their participation and being informed in the operation dimension were at the good to excellent levels, while those in the preparation dimension were at the needing improvement level in all items, and those in the performance outcome reporting dimension were at the fair to good levels. (4) The students perceived that their participation and being informed in the performance outcome reporting dimension were at the excellent level; while those in the preparation and operation dimensions were at the fair to needing urgent improvement levels. When the details were considered, it was found that the schools’ acceptance of the goals concerning the student aspect was at the excellent level. Based on the details of evaluation results, the researcher proposed main recommendations to upgrade the success level of the schools’ internal quality assurance in the student aspect by increasing the participation of school board members and parents in the process of internal quality assurance to the highest level in every dimension. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ศุภมาส อังศุโชติ | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
138836.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License