กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8682
ชื่อเรื่อง: การประเมินการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ‫Evaluation of internal quality assurance in the student aspect of schools under Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา วัธนสุนทร
เดือนดารา อุทัย, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศุภมาส อังศุโชติ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ประกันคุณภาพการศึกษา--ไทย--นครปฐม
เขตพื้นที่การศึกษา--ไทย--นครปฐม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินกระบวนการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 25 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 25 คน ครู 114 คน กรรมการสถานศึกษา 52 คน ผู้ปกครอง 164 คน นักเรียน 213 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ซึ่งมีทั้งหมด 127 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารและครู เห็นว่าโรงเรียนมีการปฏิบัติโดยเฉลี่ย ในระดับดี-ดีมาก ในการประกันคุณภาพด้านผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ทั้งในด้าน การเตรียมการ การดำเนินการ และการรายงานผลการปฏิบัติงาน เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่ามีการปฏิบัติในระดับปานกลางหรือพอใช้ ในการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียน และการแปลความหมายข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ และในความคิดเห็นเฉพาะของครู เห็นว่ามีการสารวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบุคลากรของสถานศึกษา ในระดับปานกลางหรือพอใช้ (2) กรรมการสถานศึกษาเห็นว่ามีส่วนร่วมและรับทราบเกี่ยวกับการประกันคุณภาพด้านผู้เรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี-ดีมาก ยกเว้นด้านการเตรียมการ ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้-ดี ในรายละเอียด พบว่าการมีส่วนร่วมในการจัดหางบประมาณ การได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการในการประกันคุณภาพภายในด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลางหรือพอใช้ (3) ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและรับทราบด้านการดำเนินการอยู่ในระดับดี-ดีมาก ส่วนด้านการเตรียมการอยู่ในระดับต้องปรับปรุงเร่งด่วนหมดทุกรายการของด้านนี้ สำหรับด้านการรายงานผล อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี (4) นักเรียนมีส่วนร่วมและรับทราบด้านรายงานผลอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการเตรียมการและด้านการดำเนินการอยู่ในระดับพอใช้-ต้องปรับปรุงเร่งด่วน เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่าการยอมรับเป้าหมายด้านผู้เรียนของสถานศึกษาอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในรายละเอียด ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพด้านผู้เรียนประสบผลสำเร็จมากขึ้น โดยสถานศึกษาต้องยกระดับการมีส่วนร่วมของ กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับสูงสุดทุกด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8682
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
138836.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons