กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8688
ชื่อเรื่อง: การใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of emergency decree on Public Administration in Emergency Situation B.E.2548 and Criminal Justics Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กันยารักษ์ บุญรักษ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารรัฐกิจ--ไทย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด หลักทฤษฎี ความเป็นมาและหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้อํานาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ศึกษากฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินของต่างประเทศและของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากบทบัญญัติของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาบทบัญญัติของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ในการบังคับใช้พระราชกำหนดดังกล่าวของฝ่ายรัฐบาล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาหาข้อมูลจากตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ หนังสือ บทความ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วิทยานิพนธ์ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ใน เพื่อนํามาวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และหาบทสรุป ที่ถูกต้องและเหมาะสม ผลจากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติของพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีประเด็นปัญหาเรื่องการขยายระยะเวลาของการประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินที่ไม่มีที่สิ้นสุด ปัญหาเกี่ยวกับการขาดกระบวนการควบคุมการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอในการใช้อํานาจทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในเรื่อง การควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยการตัดอํานาจ ศาลปกครอง ดังนั้นจึงควรมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อให้สอดคล้องกบสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8688
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150589.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons