กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8696
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความรู้และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of knowledge and attitude towards environment of lower secondary education science teachers under the Office of Nakhon Sawan Provincial Primary Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประจวบจิตร คำจัตุรัส
สุจิต เชื้อจีน, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อลิศรา ชูชาติ
ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์
ครูวิทยาศาสตร์--ทัศนคติ.--ไทย--นครสวรรค์
สิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2540
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของครู วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 2) ศึกษาความรู้และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการสอน ระดับการศึกษา และวิชาเอก-โทที่จบการศึกษาแแตกต่างกัน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้กับเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของครูวิทยาศาสตร์ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เป็น ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นที่ทำการสอนในโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูล ส่วนตัว แบบสัมภาษณ์เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมี ค่าความเที่ยง 0.77 และแบบวัดเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.93 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว ค่าไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 64.04 2. ครูวิทยาศาสตร์มีเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.08 จากมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ 3. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการสอน ระดับการศึกษา วิชาเอก-โทที่จบ การศึกษาต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการสอน ระดับการศึกษา วิชาเอก-โทที่จบ การศึกษาต่างกันมีเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ความรู้และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมของครูวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2540
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_50030.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons