กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8702
ชื่อเรื่อง: การประเมินการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสองภาษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the Bilingual Classroom Project implementation in the Secondary Education Service Area 14
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนิกานต์ กันฑะวงศ์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
โครงการห้องเรียนสองภาษา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินสภาพการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนสองภาษาด้านปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการ (2) วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสองภาษา และ (3) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสองภาษา ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการประเมิน คือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการห้องเรียนสองภาษา ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จำนวน 452 คน จาก 5 โรงเรียน โดยเลือกมาโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่ง ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 คน ครูผู้สอน จำนวน 41 คน นักเรียน จำนวน 193 คน และผู้ปกครอง จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสองภาษาจำนวน 4 ฉบับได้แก่ ฉบับผู้บริหาร ฉบับครูผู้สอน ฉบับนักเรียน และฉบับผู้ปกครอง และแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนและโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1)ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตของการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง (2) จุดแข็งที่สำคัญ คือ นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ จุดอ่อนที่สำคัญ คือ ครูขาดความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน และ(3) สามารถสร้างกลยุทธ์ได้ 3 ข้อ ดังนี้ (3.1) พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนสู่ครูมืออาชีพ (3.2) พัฒนาศักยภาพของนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ และ (3.3) สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8702
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140073.pdfเอกสารแบับเต็ม4.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons