กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8712
ชื่อเรื่อง: ชุดการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและรูปสมมาตร กลุ่มวิชาทักษะ (คณิตศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Instructional packages on geometric and symmetrical shape in skill cluster (mathematics) for Prathom Suksa Three
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเลิศ ส่องสว่าง
วารินทร์ รัศมีพรหม
ณรงค์ นวพงศ์ประพันธ์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วารินทร์ รัศมีพรหม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
เรขาคณิต--การสอนด้วยอุปกรณ์
เรขาคณิต--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คณิตศาสตร์--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
วันที่เผยแพร่: 2540
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและรูปสมมาตร ยังขาดสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ดี เพราะขาดความสนใจและไม่กระตือรือร้นในการเรียน จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องพัฒนาชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพขึ้นใช้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและรูป สมมาตร กลุ่มวิชาทักษะ (คณิตศาสตร์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 90/90 (2) ศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่ เรียนจากชุดการสอน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน ผู้วิจัยสร้างชุดการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตและรูปสมมาตร จำนวน 6 หน่วย ได้แก่ (1) รูปเรขาคณิต (2) การเขียนรูปเรขาคณิตโดยใช้แบบรูป (3) รูปทรงเรขาคณิต (4) การเปรียบเทียบรูป เรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต (5) รูปสมมาตร และ (6) การเขียนรูปสมมาตร โดยใช้เนื้อหาตาม หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กระทรวงศึกษาธิการ พร้อม ทั้งสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน 12 ชุด หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำชุดการ สอนที่สร้างขึ้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และภาคสนามซึ่งเป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2538 จำนวน 43 คน ซึ่ง ได้จากการสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ E1E2, t-test, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นทั้ง 6 ชุด มีประสิทธิภาพ 91.00/90.30, 91.65/91.00, 89.65/88.00, 87.50/88.30, 88.15/88.00 และ 87.80/87.70 เป็นไปตามเกณฑ์ 90/90 ที่ กำหนดไว้ ส่วนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และนักเรียน มีความคิดเห็นว่าชุดการสอนนี้มีความเหมาะสมในการสอนมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2540
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8712
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_50033.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons