กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8739
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the stress in work performance of Instructors in Princess of Naradhiwas University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลัดดาวรรณ ณ ระนอง กัญนิษฐ์ แซ่ว่อง, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิธิพัฒน์ เมฆขจร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์--อาจารย์--ความเครียดในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (2) ศึกษาระดับภาวะความเครียดในการปฏิบัติงานของ อาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (3) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจาปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสอบถาม ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราช นครินทร์ มีค่าความเที่ยง .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ กลุ่มเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (2) อาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีภาวะ ความเครียดในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย (3) ปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งทางวิชาการ สถานภาพภายในสถานศึกษา อายุงานสอน ส่งผลต่อความเครียดไม่แตกต่างกัน ส่วน ปัจจัยด้านระดับการศึกษา สังกัดหน่วยงาน ระดับชั้นการสอน จำนวนรายวิชาที่สอน และจำนวนชั่วโมงสอน/ สัปดาห์ ส่งผลต่อความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ปัจจัยด้านภาระหน้าที่ รับผิดชอบ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกกับปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน สัมพันธ์กัน ในทิศทางบวก กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8739 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
142730.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License