กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/873
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between transformational leader behaviors and conflict management of Head Nurses in Community Hospitals, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี
จิตรานนท์ โกสีย์รัตนาภิบาล, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมการบริหาร
การบริหารความขัดแย้ง
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย (2) ศึกษาวิธีการบริหารความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนคร ประชากรที่ศึกษาคือพยาบาลประจำาการโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนคร จำานวน 214 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำาการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 178 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 1 ชุด แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ 2 พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยและตอนที่ 3 การบริหารความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย ได้ค่าคัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของตอนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.85 และ 0.81 ตามลำดับ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาของตอนที่ 2 และตอนที่ 3 เท่ากับ 0.98 และ 0.93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์ของเครเมอร์วี ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 59.55) รองลงมาคือพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับปานกลางและระดับตํ่า (ร้อยละ 26.97 และ 13.48 ตามลำดับ) (2) หัวหน้าหอผู้ป่วยเลือกใช้วิธีการบริหาร ความขัดแย้งแบบร่วมมือมากที่สุด รองลงมาได้แก่ วิธีการไกล่เกลี่ย การประนีประนอม การเอาชนะ และวิธีการหลีกเลี่ยง ตามลำดับ และ (3) พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (สัมประสิทธิ์ของเครเมอร์วี=0.304) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/873
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
102118.pdf5.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons