กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8747
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumers purchasing behaviors online bus ticket in Bang Na District, Bangkok Metropolis Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอมอร ดวงประภา, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
รถประจำทาง--ตั๋ว
รถประจำทางปรับอากาศ--ตั๋ว
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ที่ซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร (2) พฤติกรรมการซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ (3) ทัศนคติในการซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้ที่เคยซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26–30 ปี การศึกษาใน ระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 20,001–30,000 บาทต่อเดือน อาชีพพนักงานบริษัท (2) พฤติกรรมการซื้อตัวรถทัวร์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยภาพรวมเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนา เป็นประจำทุกเทศกาล ซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตจากที่ทำงาน ช่วงเวลา 14.01–18.00 น. ซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศล่วงหน้าช่วงเทศกาลเพื่อเป็นการประหยัดเวลาและได้รับความ สะดวกรวดเร็ว และ (3) ทัศนคติของผู้ที่ซื้อบัตรโดยสารรถประจำทางปรับอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตโดย ภาพรวมมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทัศนคติมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุดคือ สามารถเลือกที่นั่งได้เอง ซื้อข้ามเขตได้ ประหยัดเวลา และได้รับ ความสะดวกสบาย ตามลำ ดับ ยกเว้นทัศนคติเรื่องการเปลี่ยนและการคืนตัว มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8747
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_132856.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons