กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8754
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of service quality of primary care units in Prachuap Kiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก
เลิศเชาว์ สุทธาพานิช, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กาญจนา วัธนสุนทร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
การบริการทางการแพทย์--การประเมิน
บริการปฐมภูมิ (การแพทย์)
สาธารณสุข--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินคุณภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ (2) ประเมินการจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ (3) จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิตามผลการประเมินระดับการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ และ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดกลุ่มคุณภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 162 คน (2 คน/แห่ง) และผู้รับบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 405 คน โดยการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือในการประเมินมี 2 ชนิด คือ แบบสอบถามการจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ และแบบสอบถามการประเมินคุณภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนของการประเมินคุณภาพบริการและการจัดบริการใช้สถิติเชิงพรรณนา การจัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ วิเคราะห์ด้วยการจัดกลุ่ม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะหน่วยบริการปฐมภูมิกับผลการจัดกลุ่มคุณภาพบริการของหน่วยบริการ ปฐมภูมิด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติกแบบมัลติโนเมียล ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิมีคุณภาพในระดับมากกว่าความคาดหวัง (2) การจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาพรวมอยู่ในระดับดี (3) การแบ่งกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิภายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคุณภาพบริการต่ำ (ร้อยละ 27.16) กลุ่มคุณภาพบริการปานกลาง (ร้อยละ 45.68) และกลุ่มคุณภาพบริการสูง (ร้อยละ 27.16) และ (4) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกลุ่มคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ พบว่าการไม่มีระบบไฟฟ้าใช้มีผลต่อคุณภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ กล่าวคือ การไม่มีระบบไฟฟ้าใช้ทำให้หน่วยบริการนั้นมีโอกาสที่จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มคุณภาพบริการต่ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8754
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143319.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons