กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/875
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน เขต 2 กระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influential factors in professional nurses' competencies in the emergency department at Community Hospitals in Region 2, the Ministry of Public Health
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจพร ปิยสิริวัฒน์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
บริการพยาบาลฉุกเฉิน
การพยาบาลฉุกเฉิน
พยาบาล
สมรรถภาพในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยค้ำจุนปัจจัยจูงใจและ สมรรถนะภาพของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจกับ สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ (3) อิทธิพลของปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน เขต 2 กระทรวงสาธารณสุข ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ของ โรงพยาบาลชุมชน เขต 2 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่า ความเที่ยงด้านปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจ สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน เท่ากับ 0.82,0.91 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยค้ำจุนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางปัจจัยจูงใจโดยรวมอยู่ใน ระดับสูง สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยรวมอยู่ในระด้บสูง (2) ปัจจัยคำจุนและ ปัจจัยจูงใจทั้งโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ใน ทางบวก ที่ระคับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลสามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่ระคับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 คือ ความรับผิดชอบ การได้รับ การยอมรับ สภาพการทำงาน ลักษณะงาน โดยร่วมกันอธิบายสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน เขต 2 กระทรวงสาธารณสุข ได้ร้อยละ 53.20 ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควร สนับสนุนให้มีการเพิ่มสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ด้านวิชาการ ตลอดจนเพิ่มปัจจัยคํ้าจุน ด้านเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ เพื่อส่งผลต่อการเพิ่มสมรรถนะสูงขึ้นและเพื่อคุณภาพการบริการ พยาบาล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/875
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
102150.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons