Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8763
Title: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในกลุ่มเด็กด้อยโอกาสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Effects of using a guidance activities package based to develop life skills in disadvantaged children group of Mathayom Suksa I students at Rajaprajanugroh 23 School in Phitsanulok Province
Authors: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรสวรรค์ ภัทรบรรพต, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การแนะแนว -- เครื่องมือ
การแนะแนว -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับเด็กกลุ่มด้อยโอกาสในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และ (2) เปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนซึ่งเป็นเด็กกลุ่มด้อยโอกาสในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ส่วนกลุ่มควบคุมใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมแนะแนวปกติ และแบบวัดทักษะชีวิต ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตมีทักษะชีวิตหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต มีทักษะชีวิตสูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนวตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8763
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143336.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons