กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8771
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to self-controlled study behaviors of Mathayom Suksa I students in Ban Phue district, Udon Thani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาพร ทศพะรินทร์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
ผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทย -- นนทบุรี
พฤติกรรม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง และ พฤติกรรมจิตอาสา ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี (2) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง กับพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี (3) ศึกษาอำนาจการทำนายของแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเองกับ พฤติกรรมจิตอาสาของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี และ (4) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตอาสา ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี จำนวน 285 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบวัดแรงจูงใจในการทำงานจิตอาสา (3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง และ (4) แบบวัดพฤติกรรมจิตอาสา โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .824 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมจิตอาสา ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับมาก (2) แรงจูงใจและการเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรม จิตอาสา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .36, และ .46 ตามลำดับ) (3) ปัจจัยแรงจูงใจกับการเห็น คุณค่าในตนเอง ร่วมกันทานายพฤติกรรมจิตอาสาได้ร้อยละ 23 และ (4) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมจิต อาสาตามปัจจัยส่วนบุคคล ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพก่อนเกษียณ อาชีพหลังเกษียณ สถานภาพการเงิน และ ลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมจิตอาสาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8771
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144247.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons