กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/880
ชื่อเรื่อง: | บทบาทและความหมายของคติความเชื่อเรื่องคำสาปพระร่วงที่ปรากฏในชุมชนของจังหวัดสุโขทัย : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปากน้ำ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Roles and meanings of the folklore of Phra Ruang's Curse as appeared in communities in Sukhothai Provincev : a case study of Ban Pak Nam Suwankholoke, Sukhothai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศาล มุกดารัศมี กาญจนา แก้วอุด, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รุ่งพงษ์ ชัยนาม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ คติชนวิทยา -- ไทย -- สุโขทัย พระร่วง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น -- ไทย -- สุโขทัย |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและความหมายของคติความเชื่อเรื่องคำสาป พระร่วงที่ปรากฏในชุมชนชาวปากน้ำ จังหวัดสุโขทัย และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของการดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของคติความเชื่อเรื่องคำสาปพระร่วงที่ปรากฏในชุมชนชาวปากน้ำในปัจจุบันเพื่อใช้วิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อโลกทัศน์ทางการเมืองของชาวปากน้ำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจ การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ กระบวนการประชาคม และจากการศึกษาบันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุโขทัย จากการศึกษาพบว่า คติความเชื่อเรื่องคำสาปพระร่วงมีบทบาทและความหมายต่อชาวบ้าน ในชุมชนชาวปากน้ำ ทั้งในระดับชุมชนและระดับบุคคล ผ่านเรื่องเล่าตำนานพระร่วงที่มีการบอกเล่าสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน กล่าวคือคติความเชื่อเรื่องคำสาปพระร่วงเป็นทั้งวัฒนธรรม ความเชื่อและระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชนสู่ความเป็นวิถีชีวิตชุมชนบ้านปากน้ำ อีกทั้งยังเป็นทางออกในการเข้าไปจัดการความขัดแย้งและสร้างกฎเกณฑ์ทางสังคม โดยการรับรู้ของคนในชุมชนว่า “ชาวบ้านปากน้ำถูกพระร่วงสาปให้ไม่สามารถทำอะไรร่วมกันได้สำเร็จ” นับว่าเป็นการสร้างความประนีประนอมให้คนในสังคมชุมชนยอมรับเงื่อนไข กฎเกณฑ์ของสังคม ที่ถูกกำหนดและสร้างขึ้นโดยผู้มีอำนาจและสิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่า เพื่อเป็นการจัดการระบบความสัมพันธ์ของคนกับคน ในการแก้ไข้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน ภายใต้การยอมรับว่า ความขัดแย้งของคนในชุมชนนั้นเป็นลักษณะ ธรรมชาติของสังคมชุมชนเช่นกัน ดังนั้นวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องคำสาปพระร่วงจึงส่งผลต่อโลกทัศน์ทางการเมืองของชาวบ้านปากน้ำ ให้มีการยอมรับนับถือผู้นำภายใต้คติความเชื่อดังกล่าวโดยไม่มีเงื่อนไข แม้ว่ากระแสของความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันจะรุนแรงและรวดเร็ว สมกับการเป็นยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีการ การสื่อสารที่ไร้พรมแดนก็ตามแต่คติความเชื่อในเรื่องคำสาปพระร่วงของชาวบ้านปากน้ำ อันเป็นตัวแทนของชุมชนในวัฒนธรรมสุโขทัยก็ยังคงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป เพราะคติความเชื่อเองก็มีการปรับตัวเพื่อรับใช้สังคมชุมชน ดังนั้นคติความเชื่อจึงยังมีประโยชน์ต่อชุมชนเช่นกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/880 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib151564.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License