กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8817
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลระบบสารสนเทศการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The evaluation of management information system and public service of Provincial Justice Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตลัดดา เสียงใส
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ--การจัดการ
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ--การประเมิน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
บริการสาธารณะ--การประเมิน.--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศการบริหารจัดการและการ ให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต (2) เพื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับผลการประเมินการดำเนินงานด้านระบบสารสนเทศการ บริหารจัดการและการให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านระบบสารสนเทศการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชนของสำนักงาน ยุติธรรมจังหวัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ปลัดกระทรวงยุติธรรม ทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง จำนวน 256 คน จากจำนวนประชากร 1,282 คน ใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือสำหรับการศึกษาใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นต่อการประเมินผลระบบสารสนเทศในด้านบริบท ด้านปัจจัย นำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านบริบท ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการประเมินผลระบบ สารสนเทศฯ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่าง กัน มีความคิดเห็นต่อการประเมินผลระบบสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ส่วนประเภทบุคลากรและสถานที่ปฏิบัติงานที่ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประเมินผลระบบสารสนเทศฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาอุปสรรค คือ ความเร็วของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ยุติธรรมจังหวัดไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศใช้งานยากและมีความซับซ้อน ไม่มี การเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ควรมีการปรับปรุง ระบบสารสนเทศฯ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงในปัจจุบัน และพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน รวมถึง การจัดทำสื่อการเรียนรู้การใช้งานระบบ สารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลายผ่านช่องทาง อี-เลิร์นนิง หรือ ยูทูป เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154871.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons