Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8834
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจักรดุลย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-15T01:57:15Z-
dc.date.available2023-08-15T01:57:15Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8834-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนการมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี ก่อนและหลัง การใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน และ (2) เปรียบเทียบคะแนนการมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน ของนักเรียนดังกล่าวในกลุ่มทดลองที่ใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนว และในกลุ่มควบคุมที่ใช้ข้อสนเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่ม แบบกลุ่ม และมีคะแนนจากแบบวัดมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา แล้วสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์ กับเพื่อนในชั้นเรียน และข้อสนเทศเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี ในกลุ่มทดลองมีคะแนนมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนดังกล่าวในกลุ่มทดลองมีคะแนน มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียนสูงกว่าคะแนนของนักเรียนในกลุ่มควบคุมที่ใช้ข้อสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.173en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectมนุษยสัมพันธ์ -- กิจกรรมการเรียนการสอนth_TH
dc.titleผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeEffects of using a guidance activities package to develop relationship with classmates of Mathayom Suksa V Students at Khana Rat Bamrung Pathum Thani School in Pathum Thani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to compare the scores on relationship with classmates of Mathayom Suksa V Students at Khana Rat Bamrung Pathum Thani School before and after using a guidance activities package and (2) to compare the score on relationship with classmates of the students in the experimental group who used the guidance activities package with that of the students in the control group who used guidance information. The sample consisted of 40 Mathayom Suksa V students of Khana Rat Bamrung Pathum Thani School in Pathum Thani province during the 2014 academic year, who had scores on relationship with classmates at the 25th percentile or lower. They were obtained by cluster sampling. Then they were randomly divided into two groups each of which containing 20 students. After that, one group was randomly assigned as the experimental group; while the other group, the control group. The employed research instruments comprised a scale to assess relationship with classmates, a guidance activities package to develop relationship with classmates, and a set of guidance information. Data were analyzed using the percentage, mean, standard deviation, and t-test. Research findings revealed that (1) after using the guidance activities package to develop relationship with classmates, Mathayom Suksa V students of Khana Rat Bamrung Pathum Thani School who were in the experimental group had scores on relationship with classmates significantly higher than their counterpart scores prior to using the guidance activities package at the .05 level of statistical significance; and (2) the students in the experimental group had the scores on relationship with classmates higher than the counterpart scores of the student in the control group who used guidance information at the .05 level of statistical significanceen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147616.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons