กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8840
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของฝ่ายทะเบียน สำนักงานที่ดิน จังหวัดเลย สาขาเชียงคาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting service quality of registration section, Loei Provincial Land Office, Chiang Khan Branch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรพินท์ โกมลไสย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานที่ดินจังหวัดเลย--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
บริการสังคม--ไทย--เลย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการของฝ่ายทะเบียน สํานักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาเชียงคาน (2) ศึกษาปัจจัยการบริหารองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการ บริการของฝ่ายทะเบียน สํานักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาเชียงคาน และ (3) เปรียบเทียบคุณภาพการ บริการของฝ่ายทะเบียน สํานักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาเชียงคาน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนที่เข้ารับบริการ ฝ่ายทะเบียน สํานักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาเชียงคาน จํานวน 4,683 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการคํานวณ ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 369 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบระบบ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการทดสอบผลต่างนัยสําคัญน้อย ที่สุด และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) คุณภาพการบริการของฝ่ายทะเบียน สํานักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาเชียงคาน ทั้งโดยรวมและรายด้านอยูในระดับมากที่สุด โดยลําดับแรกคือ ด้านความน่าเชื่อถือ รองลงมาคือด้านความมั่นใจ ด้านความดูแลเอาใจใส่ ด้านการตอบสนอง และด้านความเป็น รูปธรรมตามลําดับ (2) ปัจจัยการบริหารองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของฝ่ายทะเบียน สํานักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาเชียงคาน ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านเทคโนโลยี และด้านงาน โดย สามารถร่วมกันทํานายคุณภาพการบริการได้ร้อยละ 38 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ผู้รับบริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพ การบริการของฝ่ายทะเบียนไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้รับบริการที่มีอาชีพแตกต่างกันมีการรับรู้คุณภาพ การบริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8840
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154981.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons