กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8843
ชื่อเรื่อง: รูปแบบห้องสมุดมีชีวิตในศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of living library in Wangchandrakasem Learning Center, Ministry of Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
ปิยะพงศ์ เอี่ยมกุล, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย--วิทยานิพนธ์
ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม
ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและความต้องการห้องสมุดมีชีวิต (2) นำเสนอรูปแบบห้องสมุดมีชีวิต (3) ตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบห้องสมุดมีชีวิต ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ประชาชนที่ใช้บริการที่ห้องสมุดศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 400 คน และ (2) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และความต้องการรูปแบบห้องสมุดมีชีวิต (2) รูปแบบห้องสมุดมีชีวิต และ (3) แบบสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบห้องสมุดมีชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพปัจจุบัน และปัญหาของห้องสมุดมีชีวิต ศูนย์การเรียนรู้ วังจันทรเกษม อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาส่วนใหญ่คือเรื่องการบริการ ส่วนความต้องการส่วนใหญ่คือด้านสาระและกิจกรรม (2) รูปแบบห้องสมุดมีชีวิต ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการที่นำเสนอ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ควรจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณภาพ มีความทันสมัย ให้มีจำนวนเพียงพอ ด้านสาระและกิจกรรม ควรส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย ด้านการบริการ ควรขยายเวลา เปิด ปิดห้องสมุด และมีบริการยืม คืนหนังสือและสื่อต่างๆ ให้กับผู้ใช้บริการภายนอก ด้านบุคลากร ควรจัดหาบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาทางด้านบรรณารักษศาสตร์ หรือมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านงานบรรณารักษ์โดยตรง ด้านการบริหารจัดการ ควรจัดงบประมาณในการหาเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงานหรือให้บริการ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกมาใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น และ (3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบห้องสมุดมีชีวิต ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ พบว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8843
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147629.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons