Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8845
Title: ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
Other Titles: Official opinion on performance appraisal system of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Labour
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ปรีชา, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กระทรวงแรงงาน. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน --ข้าราชการ--ทัศนคติ
การประเมินผลงาน
การสำรวจทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (2) ปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ประชากร ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ จำนวน 242 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน เทียบจากตารางของเครชชีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็น แบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานมีความเหมาะสม โดยเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการมากที่สุด รองลงมาคือ การแจ้งผลการประเมินการปฏิบัติราชการ (2) ปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ได้แก่ การแจ้งผลการประเมินมีความล่าช้า และผู้ประเมินมักประเมินที่ตัวบุคคลมากกว่าผลการปฏิบัติราชการ (3) ข้อเสนอแนะสำคัญ ได้แก่ ควรจัดอบรม/สัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการแก่ผู้ประเมินและผู้รับ การประเมินรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องอยางทั่วถึง กำหนดให้มีแบบฟอร์มเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภท และไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป รวมถึงควรกำหนดระยะเวลาในการแจ้งผลการประเมินให้มีความเหมาะสม และกำหนดให้มีหน่วยงานภายในทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับผลการประเมินการปฏิบัติราชการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8845
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_143489.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons