Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8847
Title: | การศึกษาแนวทางการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของชุมชนในภาคเหนือ |
Other Titles: | Study of approaches to reduce health risk behaviors of the community in the Northern Region |
Authors: | ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล รักชนก จินดาคำ, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สารีพันธุ์ ศุภวรรณ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย--วิทยานิพนธ์ พฤติกรรมสุขภาพ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของชุมชนภาคเหนือ และ (2) เสนอแนวทางการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของชุมชนในภาคเหนือ ในการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในชุมชนบ้านแม่ป่าข่า ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลาพูน เป็นชุมชนที่มีการดำเนินงานด้านการลดการดื่มสุรา จำนวน 40 คน ชุมชนบ้านนากวาง ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ที่มีการดำเนินงานด้านการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยการบริโภคผักปลอดสารพิษ จำนวน 40 คน และชุมชนบ้านข่วงบุก ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่มีการดำเนินงานด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในชุมชนด้วยการแก้ไขปัญหาขยะ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเลือกตอบ แบบมาตรประมาณค่าและคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับคำถามปลายเปิด ในการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวแทนผู้นำจากหลายภาคส่วน ในชุมชน ชุมชนละ 12 คน รวมทั้งหมด 36 คน ชุมชนละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ประเด็นสนทนากลุ่ม มีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยปรากฏว่า สภาพปัญหาและความต้องการในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของชุมชนภาคเหนือในด้านการลดการดื่มสุรา มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากสมาชิกบางส่วนในชุมชน ยังมีความคิดเห็นในเรื่องการดื่มสุราว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ยังไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและปัญหาชุมชนในระดับรุนแรง ในด้านของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก เนื่องจากปัญหาในด้านสุขภาพ ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในชุมชน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการบริโภคที่สะสมมาอย่างยาวนาน กิจกรรมจะสามารถกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ในด้านของการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชน ด้วยการแก้ไขปัญหาขยะ มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก ปัญหาขยะส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ทั้งดิน น้ำและอากาศ สำหรับปัญหาที่สำคัญของการดำเนินกิจกรรมลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งสามประเด็น พบว่า ปัญหาที่สำคัญคือ เรื่องการขาดความรู้ ความเข้าใจ ส่งผลต่อการปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม สำหรับแนวทางการการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของชุมชนในภาคเหนือ พบว่าจะต้องมีแนวทางในสามระดับ ได้แก่ ในระดับของผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในปัญหา สามารถปฏิบัติเป็นแบบอย่างได้ ในระดับชุมชน สมาชิกในชุมชนต้องมีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจในผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับปัจเจกบุคคล และควรมีกระบวนการในชุมชนที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในระดับเครือข่าย จำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ จากหน่วยงานอึ่นๆ ที่เป็น ภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8847 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
147633.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License