Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8850
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิมภา นะตะพันธ์, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-15T04:04:23Z-
dc.date.available2023-08-15T04:04:23Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8850-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของผู้สอนเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ (2) สร้างแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษา และ (3) ประเมินแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ครูสอนรายวิชาอิสลามศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ จำนวน 164 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการของครู (2) แบบระดมความคิดเห็นในการประชุมกลุ่มสนทนา (3) ต้นแบบชิ้นงาน และ (4) แบบประเมินแบบจำลอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความต้องการการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) แบบจำลองการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษาที่สร้างขึ้น มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพการสอนวิชาอิสลาม การวิเคราะห์ปัญหาการสอนวิชาอิสลาม การวิเคราะห์ความต้องการการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ องค์ประกอบด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การผลิตบทเรียนสำหรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของห้องเรียนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเขียนแผนการสอน การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การสรุป และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอผลการเรียน และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผลการประเมินก่อนการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินระหว่างการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินหลังการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และผลการปรับปรุงแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่ามีความเหมาะสมในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2014.63en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectอิสลามศึกษา -- ไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectการสอนด้วยสื่อth_TH
dc.titleการพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รายวิชาอิสลามศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of an instructional model via electronic media in the Islam studies course for Lower Secondary students of Islamic private schools in Krabi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the needs of teachers concerning instruction via electronic media in the Islamic Studies Course for lower secondary students of Islamic private schools in Krabi province; (2) to create an instructional model via electronic media in the Islamic Studies Course; and (3) to evaluate the instructional model via electronic media in the Islamic Studies Course. The research sample consisted of (1) 164 Islamic Studies teachers from Islamic private schools in Krabi province; (2) nine specialists on educational technology and communications and on instructional management via electronic media; and (3) three experts on educational technology and communications for evaluation of the instructional model via electronic media. The employed research instruments were (1) a questionnaire on teacher’s needs, (2) a brainstorming form for focus group discussion, (3) a prototype instructional model, and (4) an evaluation form for the instructional model. Data were analyzed using the percentage, mean, standard deviation, and content analysis. Research findings revealed that (1) the overall need for instruction via electronic media of Islamic Studies teachers of Islamic private schools in Krabi province was at the high level; (2) the constructed instructional model via electronic media in the Islamic Studies Course was composed of three components: the input factors component which comprised an analysis of the instructional condition of the Islamic Studies Course, an analysis of problems in the instruction of the Islamic Studies Course, an analysis of the needs for instruction via electronic media, and the readiness preparation for organizing instruction via electronic media; the process component which comprised the production of lessons for instruction via electronic media, the preparation of appropriate classroom environment condition for instruction via electronic media, the writing of lesson plans, the imparting of contents via electronic media, the organization of experience enhancing activities, the conclusion and sharing of learning, and the presentation of learning outcomes; and the output component which comprised results of pre-assessment of learning via electronic media, results of formative assessment of learning via electronic media, results of summative assessment of learning via electronic media, results of evaluation of the instructional model via electronic media, and results of improvement of the instructional model via electronic media; and (3) the experts evaluated that the constructed instructional model via electronic media was appropriate at the high levelen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147638.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons