Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8850
Title: | การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รายวิชาอิสลามศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ |
Other Titles: | Development of an instructional model via electronic media in the Islam studies course for Lower Secondary students of Islamic private schools in Krabi Province |
Authors: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ พิมภา นะตะพันธ์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ อิสลามศึกษา--ไทย--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การสอนด้วยสื่อ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของผู้สอนเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ (2) สร้างแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษา และ (3) ประเมินแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ครูสอนรายวิชาอิสลามศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ จำนวน 164 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความต้องการของครู (2) แบบระดมความคิดเห็นในการประชุมกลุ่มสนทนา (3) ต้นแบบชิ้นงาน และ (4) แบบประเมินแบบจำลอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความต้องการการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) แบบจำลองการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาอิสลามศึกษาที่สร้างขึ้น มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพการสอนวิชาอิสลาม การวิเคราะห์ปัญหาการสอนวิชาอิสลาม การวิเคราะห์ความต้องการการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ องค์ประกอบด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การผลิตบทเรียนสำหรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของห้องเรียนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเขียนแผนการสอน การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การสรุป และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอผลการเรียน และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผลการประเมินก่อนการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินระหว่างการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินหลังการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการประเมินแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และผลการปรับปรุงแบบจำลองการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8850 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
147638.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License