กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8852
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ผลกระทบของการอบรมทางวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Impact analysis of Mathematics Teachers' professional training on achievement of Mathayom Suksa III students in Education Expansion Schools under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สังวรณ์ งัดกระโทก อัจฉรา กาศโอสถ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นลินี ณ นคร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ครูคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--คณิตศาสตร์ การฝึกอบรม |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการอบรมและการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครูคณิตศาสตร์ (2) วิเคราะห์ผลกระทบของการอบรมของครูคณิตศาสตร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของการอบรมของครูคณิตศาสตร์ กับปัจจัยของนักเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากร คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 จำนวน 61 โรงเรียน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 จำนวน 36 คน และนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 973 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการอบรมของครู แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์นักเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ครูที่เคยเข้ารับการอบรมวิชาชีพมีร้อยละ 63.91 การอบรมที่ครูเข้าร่วมมากที่สุดได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี ด้านการวัดและประเมินผล และด้านพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ ในภาพรวมพบว่า ครูนำความรู้เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไปใช้มากที่สุด ส่วนการอบรมเรื่องการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล ครูนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนน้อยที่สุด (2) การอบรมของครูไม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เมื่อควบคุมตัวแปร ความรู้เดิมของนักเรียน เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ วิทยฐานะของครู และประสบการณ์สอนของครู (3) การอบรมของครูไม่มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยของนักเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8852 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
147923.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License