กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8866
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting desirable characteristics of Bachelor's Degree Graduates in Science and Technology, Durakij Pundit University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไกรสร อัมมวรรธน์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช -- บัณฑิต
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์โดยจำแนกตามคณะ เพศและผลสัมฤทธิ์ ในการเรียน (2) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตจากปัจจัยด้านสัมพันธภาพ ในครอบครัว รูปแบบการดำเนินชีวิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกิจกรรมพิเศษของมหาวิทยาลัย และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือบัณฑิตจำนวน 137 คน ประกอบด้วยคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จำนวน 16 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 28 คน และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวน 93 คน ใช้วิธีของ ยามาเน่ในการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยข้อคำถามมีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.70-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตอยู่ในระดับมากทั้ง 3 คณะ และไม่มีความแตกต่างกันในด้านคณะ เพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) สัมพันธภาพในครอบครัว รูปแบบการดำเนินชีวิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้ร้อยละ 25 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มี ค่า .465 และสามารถสร้างสมการถดถอยเพื่อใช้ในการพยากรณ์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ดังนี้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ = 1.714 + 0.277 (สัมพันธภาพในครอบครัว) + 0.181 (รูปแบบการดำเนินชีวิต) + 0.151 (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน) และ (3) นักศึกษามีข้อเสนอแนะในด้านของความต้องการ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง มีกิจกรรมหลายรูปแบบในการเรียนเพื่อทำให้เข้าใจดีขึ้นและไม่น่าเบื่อ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8866
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147949.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons