กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8875
ชื่อเรื่อง: แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Leadership styles of school administrators and development of the internal quality assurance system in Basic Education Schools in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประยงค์ เนาวบุตร
สุวิมล ใจโปร่ง, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ราวดี ปฏิวัติวงศ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ประกันคุณภาพภายใน
ผู้บริหารสถานศึกษา--ไทย--ตาก
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก (2) การดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (รอบสอง) ปีการศึกษา 2549 จำนวน 210 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 30 คน และครูผู้สอน จำนวน 180 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ร้อยละ 25 ของเตอร์ลินเจอร์ และได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำของ ผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสอบถามด้านการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษาพื้นฐานในจังหวัดตาก มีแบบภาวะผู้นำทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ แบบภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม แบบ สนับสนุน แบบมุ่งความสำเร็จของงาน และแบบสั่งงาน (2) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก มีการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา แบบมุ่งความสำเร็จของงาน แบบให้มีส่วนร่วม และแบบสนับสนุน มีความสัมพันธ์กับการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทุกด้านในทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนแบบภาวะผู้นำแบบสั่งการ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8875
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons