กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8878
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of school-based curriculm eveluation criteria by using the participatory action research for Jiraprawat Witayakhom School, Nakhon Sawan province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพักตร์ พิบูลย์ วิชัย บำรุงศรี, 2496- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อรรณพ จีนะวัฒน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การประเมินหลักสูตร |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 2) ศึกษาผลการใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการพัฒนาเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร จำนวน 10 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา (2) บุคลากรแกนนำของโรงเรียนจิรประวัติวิทยาคมที่เข้าร่วมในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 17 คน และ (3) กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม จํานวน 286 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์กลุ่ม และแบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ได้ข้อสรุปดังนี้ 1) เกณฑ์การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม จำแนกเป็น 5 ด้าน คือ (1) ด้านบริบทหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบไปด้วย 5 ตัวชี้วัด 42 พฤติกรรมบ่งชี้ (2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด 30 พฤติกรรมบ่งชี้ (3) ด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ประกอบไปด้วย 5 ตัวชี้วัด 24 พฤติกรรมบ่งชี้ (4) ด้านการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด 35 พฤติกรรมบ่งชี้ และ (5) ด้านการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร ประกอบไปด้วย 10 ตัวชี้วัด 68 พฤติกรรมบ่งชี้ และ 2) ผลการใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกณฑ์ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ได้เกณฑ์ประเมินหลักสูตรที่มีความเหมาะสมในระดับมาก และผู้ร่วมในกระบวนการวิจัยและพัฒนา เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเกณฑ์และการประเมินหลักสูตรในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8878 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License