Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8881
Title: | แบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำหรับโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Model of blended learning via online learning community on Biology at Mathayom Suksa IV level for Schools in Pathumthani Province |
Authors: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ ภวเทพ สำราญสุข, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา โตโพธิ์ไทย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ชีววิทยา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนรู้แบบผสมผสาน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของผู้สอนและผู้เรียนที่มีต่อการเรียนแบบจำลองการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์วิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำหรับโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี (2) สร้างแบบจำลองการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ และ (3) ประเมินแบบจำลองการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ครูผู้สอนวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 24 คน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และด้านการสอนชีววิทยา จำนวน 8 คน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และด้านการสอนชีววิทยา จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 312 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอนวิชาชีววิทยา (2) แบบสอบถามสำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) ประเด็นคำถามสำหรับการระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (4) แบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ (5) แบบประเมินแบบจำลองการเรียนแบบผสมผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้สอนและผู้เรียนมีความต้องการแบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลจากการระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า แบบจำลองการเรียนรู้แบบผสมผสาน เน้นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้าและการเรียนผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ ในอัตราส่วน 70:30 โดยแบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ประกอบด้วย (ก) องค์ประกอบของการเรียนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ ได้แก่ องค์ประกอบด้านปัจจัยนาเข้า ครอบคลุม วัตถุประสงค์ของการเรียน คุณลักษณะของผู้สอนและผู้เรียน สื่อประกอบการเรียนรู้ วิธีการปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อม/เทคโนโลยีสนับสนุน องค์ประกอบด้านกระบวนการ ครอบคลุม ลักษณะของการเรียนรู้ ระยะเวลาการเรียนการสอน การดาเนินการก่อน ระหว่าง และหลังการเรียนการสอน และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ ครอบคลุม ผลลัพธ์ของการเรียนการสอนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ การประเมินแบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ และการปรับปรุงแบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ (ข) ขั้นตอนการเรียนแบบผสมผสานประกอบด้วย 5 ขั้นคือ ปฐมนิเทศ นำเข้าสู่บทเรียน ดำเนินการและประกอบกิจกรรมการเรียน ขั้นสรุป และประเมินผลการเรียน และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาประเมินแบบจำลองการเรียนแบบผสมผสานผ่านสังคมการเรียนรู้ออนไลน์ว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8881 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
147981.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License