Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8882
Title: ผลกระทบของความไม่สอดคล้องระหว่างมาตรฐานการประเมินกับการประเมินของครูต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Impact of misalignment between intended assessment standards and teachers' assessment practices on Mathematics achievement of Mathayom Suksa IV students in Chiang Mai Province
Authors: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นราศักดิ์ ไชยเรือง, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- เชียงใหม่
คณิตศาสตร์ -- การประเมิน
นักเรียน -- การประเมิน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความไม่สอดคล้องระหว่างการประเมินของครูคณิตศาสตร์กับมาตรฐานการประเมิน (2) วิเคราะห์ผลกระทบของความไม่สอดคล้องระหว่างมาตรฐานการประเมินกับการประเมินของครูต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (3) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของความไม่สอดคล้องระหว่างมาตรฐานการประเมินกับการประเมินของครูกับปัจจัยของนักเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากร คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 33 โรงเรียน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 6,557 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์จำนวน 33 คน และนักเรียนจำนวน 957 คน ได้จากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบสอบถามนักเรียนและแบบสอบถามครู ซึ่งใช้เก็บข้อมูลตัวแปรระดับนักเรียน 3 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้เดิมของนักเรียน จำนวนชั่วโมงในการเรียนพิเศษ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และตัวแปรระดับครู 4 ตัวแปร ได้แก่ การประเมินที่ครูใช้ วิทยฐานะ ประสบการณ์สอน เจตคติต่อการประเมิน ความไม่สอดคล้องระหว่างการประเมินของครูกับมาตรฐานการประเมินคำนวณจากดัชนีความสอดคล้องของพอร์เตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความไม่สอดคล้องระหว่างมาตรฐานการประเมินกับการประเมินของครูในภาพรวมมีค่าน้อย ( 2) ความไม่สอดคล้องของการประเมินของครูมีผลกระทบทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความไม่สอดคล้องของการประเมินของครูมีปฏิสัมพันธ์กับความรู้เดิมของนักเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8882
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147982.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons