Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8883
Title: ความตรงและความเที่ยงของการให้คะแนนระหว่างภาคเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
Other Titles: Validity and reliability of formative assessment scoring in Mathematics for Mathayom Suksa III students in education extension Schools under Chiang Mai Primary Education Service Area Office 3
Authors: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
คณิตตา บุญแน่น, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
คณิตศาสตร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความตรงของการให้คะแนนระหว่างภาควิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบความตรงของการให้คะแนนระหว่างภาควิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามรูปแบบการให้คะแนนระหว่างภาค 4 รูปแบบ และ (3) ศึกษาความเที่ยงของการให้คะแนนระหว่างภาค วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 61 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครูจำนวน 24 คนและนักเรียนจำนวน 522 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจการให้คะแนนระหว่างภาค แบบบันทึกการให้คะแนนระหว่างภาค และ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การให้คะแนนระหว่างภาคของครูคณิตศาสตร์มีความตรงค่อนข้างต่ำ (ความสัมพันธ์ของคะแนนระหว่างภาคกับคะแนนสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.20) (2) รูปแบบการให้คะแนนระหว่างภาครูปแบบที่ 2 โดยมีการให้คะแนนจิตพิสัย: คะแนนทดสอบย่อย: คะแนนกิจกรรม/ใบงาน: คะแนนสอบกลางภาคในสัดส่วน 10: 15: 30: 15 มีความตรงมากที่สุด และ (3) การให้คะแนนระหว่างภาคของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์รูปแบบที่ 3 โดยมีการให้คะแนนทดสอบย่อย:คะแนนสอบกลางภาคในสัดส่วน 60: 10 มีความเที่ยงมากที่สุดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสัมบูรณ์ เท่ากับ 0.14 นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนจิตพิสัยมีความผันแปรสูงที่สุด ซึ่งสะท้อนว่าเป็นแหล่งของความคลาดเคลื่อนในการวัดมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8883
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147983.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons