กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8898
ชื่อเรื่อง: ยุติธรรมชุมชน : ศึกษาตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับการป้องกันอาชญากรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The community justice : the study of the police community relation to prevent crime
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชิดศักดิ์ นัยนา, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
อาชญากรรม--การป้องกัน
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ยุติธรรมชุมขน: ศึกษาตำรวจชุมชนสัมพันธ์กับการป้องกัน อาชญากรรม มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎียุติธรรมชุมชนที่เกี่ยวกับตำรวจชุมชน (Community policing) ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ในการป้องกันอาชญากรรม (2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค บทบาท ภารกิจ และ สถานะของตำรวจชุมชน (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบวิธีการตำรวจชุมชน (Community policing) ของไทย กับต่างประเทศ การศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาจากตำรากฎหมาย ศึกษาหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำกระบวนการ “ยุติธรรมชุมชน” (Community Justice)!ปใช้โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและปรากฏการณ์จริงจากการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ใน กระบวนการยุติธรรมชุมชนกับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีส่งเสริมสนับสนุนหรือกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเข้า มีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วนในการป้องกันควบคุมจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ ลดและเยียวยาความเสียหาย หรือความรุนแรงที่เกิดจากอาชญากรรมหรือการกระทำผิด ตลอดจนรับผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ชุมชนด้วยการพื่นฟู ระบบยุติธรรมเชิงจารีต และ/หรือระบบยุติธรรมชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนรู้สึกมั่นคงปลอดภัย สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้และเพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพ มีความสมานฉันท์ และมีกลไกการทำงานตามระบบ ยุติธรรมชุมชนที่เชี่อมโยงกับระบบยุติธรรมหลักผ่านการประสานงานของหน่วยงานยุติธรรมจังหวัดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่าสวัสดิการ/ประโยชน์ที่จะได้รับของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สมาชิกอาสาสมัคร ตำรวจบ้าน ตลอดถึงอาสาสมัครแนวร่วมอื่นๆ ยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและกฎหมายที่ชัดเจน เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีประสบภัยจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย เพื่อ เป็นขวัญและกำลังใจ หรือแรงจูงใจให้กับอาสาสมัครดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขระเบียบสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติว่าต้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ห้องถี่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551 หมวด 7 สวัสดิการที่จะไต้รับ ข้อ 17 สวัสดิการหรือประโยชน์ที่จะได้รับเกี่ยวกับค่าตอบแทนดังกล่าวโดยตรง และสามารถเบิกจ่ายได้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียงหน่วยงานเดียว เพื่อเป็นแรงจูงใจและขวัญกำลงใจแก่ อาสาสมัครในการร่วมทำงานให้กับตำรวจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพยี่งขึ้น และเห็นควรมีการปรับปรุง โครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีหน่วยงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นหน่วยงานอิสระที่ขึ้นตรงกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรงและมีภารกิจหน้าที่แตกต่างจากตำรวจหน่วยงานหลัก เพื่อทำหน้างานชุมชน สัมพันธ์เพียงอย่างเดียว และกำหนดเป็นนโยบายของกระทรวงยุติธรรมในการที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8898
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_135851.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons