กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/889
ชื่อเรื่อง: บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน : กรณีศึกษาอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Role of village headmen in conflict resolution : a case study of Thepha Distric, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
คัมภีร์ ทองพูน, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ความขัดแย้งทางสังคม -- ไทย -- สงขลา
กำนันและผู้ใหญ่บ้าน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะปัญหาความขัดแย้งในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา (2) เพื่อศึกษาบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา (3) เพื่อเสนอวิธีการการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอยางได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านใน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น 21 คน วิเคราะห์และนำเสนอแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะปัญหาและสาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ ปัญหาทะเลาะวิวาท ปัญหาการขาดความสามัคคี ปัญหาการเมือง ปัญหายาเสพติด ปัญหา อาชญากรรม ปัญหาครอบครัว ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ (2) บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง คือ การใช้หลักเหตุผล หลักความจริง ยุติธรรม จริงจังในการแก้ไขปัญหา ดูแลให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในหมู่บ้าน ทำงานอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขความขัดแย้งให้ทันเวลา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คู่กรณีเป็นนักประสานงานที่ดี ให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และ ทำงานตรงไปตรงมา (3 ) วิธีการการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้านใช้วิธีการ การแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นวิธีการแรก ตามด้วยการประนีประนอม การใช้อำนาจและการระงับโดยการใช้เสียงส่วนใหญ่ การไกล่เกลี่ย การหลีกเลี่ยง และการบังคับ ส่วนการทำงานร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ทั้งนี้ยังพบว่าในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ชาวบ้านให้ความสำคัญต่อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มากกว่าสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/889
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib130191.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons