กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8904
ชื่อเรื่อง: | การบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนราธิวาส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administration of Islamic study curriculum by school administrators under the offices of Primary education service area in Narathiwat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ อับดุลซอมัด เล็งฮะ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นงเยาว์ อุทุมพร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ อิสลามศึกษา--ไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--นราธิวาส |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส (2) เปรียบเทียบระดับการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูอิสลามศึกษาโดยจำแนกตาม วุฒิการศึกษาสายสามัญศึกษา วุฒิการศึกษาสายอิสลามศึกษา ประสบการณ์การสอน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัด และ (3) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ครูสอนวิชาอิสลามศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสทั้ง 3 เขต ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 214 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และหัวหน้าวิชาการโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสทั้ง 3 เขต รวม 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.98 และเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการตีความสร้างข้อสรุปการวิจัยแบบอุปนัย ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) ระดับการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส ในภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (2) ครูอิสลามศึกษาที่แตกต่างกันด้านวุฒิการศึกษาสายสามัญ สายอิสลามศึกษา ประสบการณ์การสอน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัดมีความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนไม่แตกต่างกัน และ (3) สำหรับปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนราธิวาส พบว่า ต้องการให้แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับด้านงบประมาณมากที่สุด โดยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณให้มีความเพียงพอ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8904 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148297.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License