กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8913
ชื่อเรื่อง: บทบาทและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public participation in Provincial Administrative Organization Plans
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธเทวินทร์ ตติยรัตน์, 2495-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “บทบาทและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการกำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่น บทบาท ระดับ การมีส่วนร่วม และกลไกตามกฎหมายที่ประชาชนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตลอดจนวิเคราะห์สภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่กฎหมาย กำหนดไว้เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากบทความทางกฎหมาย ผลงานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่าปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ปัญหาการไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจนในการกำหนดขั้นตอนและวิธีการที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมี ส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาองค์การบเริหารส่วนจังหวัด และกฎหมายที่มีอยู่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างเพียงพอ โดยปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาโดยการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ชัดเจน และในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายดังกล่าว ควรมีการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการ จัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 เพื่อกำหนดขั้นตอนและวิธีการมีส่วนร่วม ของประชาชนให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ โดยนำรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอย่างชัดเจนในขั้นตอนการกำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่น วิธีการตรวจสอบการ ดำเนินการ รวมทั้งวิธีการที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ควรมีการสร้างจิตสำนึกที่ดี ให้กับเจ้าหน้าที่และประชาชนในการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8913
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_142417.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons