กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/891
ชื่อเรื่อง: ความขัดแย้งทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political conflicts of sub-district administrative organizations in Tha Luang District, Lop Buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รสลิน ศิริยะพันธุ์
จรูญศรี ตั้งเสถียร, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รุ่งพงษ์ ชัยนาม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ลพบุรี
ความขัดแย้งทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี (2) ผลกระของความขัดแย้งทางการเมีองขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมีองขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 5 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 5 คน และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 5 คน รวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ผลของการวิจัยพบว่า (1) สาเหตุของปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมีองขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี คือ แนวคิดในเรื่องการกระจายอำนาจ ปัจจัยความแตกต่างทางการเมีองในลักษณะเฉพาะบุคคล การที่บุคลากรไม่ได้รับการตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนตนการใข้อำนาจทางการเมืองของบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล และความไม่ชัดเจนของข้อกำหนดและกฎหมาย (2) ผลกระทบของปัญหาความขัดแย้งทางการเมีองขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอ ท่าหลวง หวัดลพบุรี ได้ส่งผลกระทบต่อ 2.1) ระบบการเมึองการปกครองแบบประชาธิปไตย อาทิ การซื้อสิทธิขายเสียง การเกิดระบบอุปถัมค์ 2.2) ระบบการมีองการปกครองท้องถิ่น อาทิ การทุจริตการเลือกตั้งความรุนแรงในการแข่งขันทางการเมีอง และการขาดความโปร่งใสในการทำงาน 2.3) การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในด้านต่าง ๆ ตั้งด้านนโยบายและการบริหารงาน และ 2.4) ชุมชนท้องถิ่น อาทิ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ความสามัคคีในชุมชน การพัฒนาประชาธิปไตยในท้องถิ่น (3)แนวทางแก้ไขปัญหาควรดำเนินการดังนี้ 3.1) ด้านข้อกำหนดหรือกฎหมาย ควรปรับปรงข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิและจำนวนผู้สมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล การกำหนดบทบาทและ อำนาจหน้าที่ให้รัดกุมชัดเจนยิ่งขึ้นและการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ 3.2) ด้านการบริหารงานควรปรับปรุงด้านงบประมาณ การใช้หลักธรรมาภิบาลในการทำงาน และการจัดนักอบรมผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 3.3) ด้านชุมชนท้องถิ่น ควรสนับสนุนการมีส่านร่วมทางการเมีองของประชาชนและส่งเสริมความความเข้าใจทางการเมือง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/891
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib120981.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons