กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8931
ชื่อเรื่อง: แนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for application of local wisdom to promote non-formal and informal education in Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมาลี สังข์ศรี
อมรศักดิ์ เกษเมธีการุณ, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์
การศึกษานอกระบบโรงเรียน--ไทย--นครราชสีมา
การศึกษาทางไกล--ไทย--นครราชสีมา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย--นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา (2) ศึกษาความต้องการในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดนครราชสีมา (3) สังเคราะห์และเสนอแนวทางการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู กศน. อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา 80 คน ผู้เรียน 400 คนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 50 คน และภูมิปัญญาท้องถิ่น 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเลือกตอบแบบมาตราประมาณค่าและคำถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา นำข้อมูลทั้งหมดมาสังเคราะห์เป็นแนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแล้วเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 4 คน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบอำเภอ จำนวน 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน มาสนทนากลุ่ม (focus group) แล้วนาข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าด้านการศึกษาตามอัธยาศัยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความต้องของผู้เรียนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการศึกษาตามอัธยาศัยและ ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตมีความต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิต และด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) แนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาพรวมมีดังนี้ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์หาผู้เรียนผู้ไม่รู้หนังสือมากที่สุด ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรช่วยเป็นวิทยากรถ่ายทอดหลักสูตรอาชีพ ควรเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพ ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรมีส่วนร่วมส่งเสริมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและ ควรมีส่วนร่วมปลูกฝังค่านิยมการประหยัดการพึ่งพาตนเอง ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและ ควรช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ในชุมชนเป็นวิทยากร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8931
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148978.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons