กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8933
ชื่อเรื่อง: | การประเมินประสิทธิผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติ กลุ่มทีแซค จังหวัดกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness evaluation of electronic book usage of 5th Grade Students in TISAC Group International Schools in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สังวรณ์ งัดกระโทก สุภาภรณ์ แพร์รี่, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นลินี ณ นคร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--การประเมิน นักเรียนประถมศึกษา--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติในกลุ่มทีแซค (2) ประเมินประสิทธิผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติในกลุ่มทีแซค และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติ ในกลุ่มทีแซค กรุงเทพมหานคร ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 3 จำนวน 600 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 234 คน ซึ่งเลือกมาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน แบบวัดความสนใจในการอ่าน แบบวัดทัศนคติต่อการอ่านและแบบสอบถามภูมิหลังของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีร้อยละ 55.12 และนักเรียนที่ไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีร้อยละ 44.87 (2) การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีประเสิทธิผลในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่ไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสนใจในการอ่านและทัศนคติต่อการอ่านสูงกว่านักเรียนที่ไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อควบคุมปัจจัยแทรกซ้อนแล้ว การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อคะแนนสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ปัญหาของการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียน คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนน้อย ไม่หลากหลาย และโรงเรียนกำหนดช่วงเวลาให้นักเรียนได้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์น้อยเกินไป ส่วนแนวทางการแก้ไข คือ ควรจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้หลากหลาย และควรจัดเวลาเสริมในการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8933 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148992.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License