Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8936
Title: ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านไพรพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Student help-care system of Ban Prai Pattana School in Sisaket Province
Authors: นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทธีมา อาจอินทร์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
นักเรียน -- การดูแล
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านไพรพัฒนา จังหวัดศีรสะเกษ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารครู ผู้ปกครอง และนักเรียน และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านไพรพัฒนา จังหวัดศีรสะเกษ จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร 9 คน ครู 15 คน ผู้ปกครองไทย 30 คน ผู้ปกครองกัมพูชา 30 คน นักเรียนไทย 60 คน และ นักเรียนกัมพูชา 21 คน รวมทั้งสิ้น 165 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มแบบกำหนดโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านไพรพัฒนา จังหวัดศีรสะเกษ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งต่อ และ (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีดังนี้ (2.1) กลุ่มผู้บริหารและครู เปรียบเทียบกับ กลุ่มผู้ปกครองไทยและกัมพูชา พบว่า มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดย กลุ่มผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นว่าโรงเรียนได้ดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากกว่ากลุ่มผู้ปกครองไทยและกัมพูชา (2.2) กลุ่มนักเรียนไทยและกัมพูชา เปรียบเทียบกับ กลุ่มผู้ปกครองไทยและกัมพูชา พบว่า มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดย กลุ่มนักเรียนไทยและกัมพูชามีความคิดเห็นว่าโรงเรียนได้ดาเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากกว่ากลุ่มผู้ปกครองไทยและกัมพูชา และ (2.3) กลุ่มผู้บริหารและครู เปรียบเทียบกับ กลุ่มนักเรียนไทยและกัมพูชา พบว่า มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8936
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149682.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons