Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8943
Title: | เพศวิถีของนักเรียนวัยรุ่นชายรักชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาวัยรุ่นชายรักชายที่ไม่เปิดเผยตัวตนต่อครอบครัว |
Other Titles: | Sexuality of homosexual male adolescents in high school : a case study of homosexual male adolescents who do not reveal their identities to the family |
Authors: | นิรนาท แสนสา วัลภา สบายยิ่ง นพวรรณ อุ่นมาก, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ รักร่วมเพศชาย--ไทย วัยรุ่นชาย--พฤติกรรมทางเพศ วิถีทางเพศ--ไทย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเข้าสู่กระบวนการชายรักชายของวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนปลาย (2) รูปแบบความสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายรักชายมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (3) สภาพปัญหาและการปรับตัวในการใช้ชีวิตของวัยรุ่นชายรักชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายรักชายมัธยมศึกษาตอนปลายที่ไม่เปิดเผยตัวตนต่อครอบครัว จำนวน 9 ราย อายุ 16-18 ปี เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย แบ่งได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ (1) การเข้าสู่กระบวนการชายรักชาย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักเริ่มต้นจากการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความสงสัยในตัวตนของตนเองและพยายามคิดหาสาเหตุ แสวงหาข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง เพื่อให้เกิดการยอมรับในตนเอง ส่วนสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้ให้ข้อมูลหลักเข้าสู่กระบวนการชายรักชายไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ (2) รูปแบบความสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายรักชาย เกิดขึ้นในลักษณะของเพื่อนสนิทที่เป็นเพศเดียวกัน อยู่ใกล้ชิดกัน จนกระทั่งพัฒนาไปเป็นรูปแบบคนรัก และพัฒนาไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ โดยการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายรักชายมีลักษณะไม่ต่างจากชายที่รักเพศตรงข้าม อีกทั้งพฤติกรรมการป้องกันโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ จากข้อมูลผู้ให้ข้อมูลหลัก พบว่า มีวัยรุ่นชายรักชายเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว 4 คน จากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 9 คน และมี 3 คนไม่ได้ป้องกันตนเองขณะมีเพศสัมพันธ์คนรัก อีกทั้งผู้ให้ข้อมูลหลักยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (3) สภาพปัญหาและการปรับตัวในการใช้ชีวิตของวัยรุ่นชายรักชายพบว่า วัยรุ่นชายรักชาย มีปัญหาการรับรู้ตัวตนของตนเองที่เริ่มต้นด้วยความสับสนในตนเอง ปัญหาการยอมรับตนเอง ปัญหาการปิดบังตนเองที่ไม่กล้าเปิดเผยต่อครอบครัว กลัวจะทำให้ครอบครัวผิดหวัง รับไม่ได้ และปัญหาการผิดหวังจากคนรักที่เป็นเพศเดียวกันกับตน แต่ไม่สามารถครองรักกันได้เนื่องจากบรรทัดฐานทางสังคม (4) จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่าผู้ให้ข้อมูลได้พบบทเรียนของการเป็นชายรักชายในเรื่องของข้อคิดในการดำเนินชีวิต มุมมองของการมีชีวิตอยู่ วิธีการทำฝันให้เป็นจริง การอยู่กับ ความจริงที่ไม่เป็นอย่างฝัน วัยรุ่นชายรักชายค้นหาวิธีการที่ใช้อยู่กับความจริงโดย การให้กำลังใจตนเอง ผลจากการวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ในการนำความรู้ที่ได้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการทำงาน และมาใช้ป้องกันการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงชายรักต่างเพศมาเป็นชายรักเพศเดียวกัน และนำผลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา และจัดกิจกรรมแนะแนวได้อย่างเหมาะสม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8943 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
150214.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License